วันจันทร์, ตุลาคม 04, 2553

STEVIE RAY VAUGHAN เจ้่าพ่อแห่ง เท็กซัส กีตาร์บลูส์


  


  เมื่อพวกเราส่วนมากเล่น SOLO แบบ 12 บาร์ พวกเราอาจจะเล่นคอรัส และที่เหลือเป็นการเล่นซ้ำๆกัน แต่ Stevie Ray ไม่เป็นอย่างนั้น เขายิ่งเล่นก็ยิ่งดี “ BB KING
              STEVIE RAY VAUGHAN ได้เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายในปัจจุบัน จากการสานต่อในดนตรีแนวบลูส์  ซึ่งได้มาจากการผสมผสานบางส่วนจาก Albert King , Jimi Hendrix และศิลปินในแนวแจ๊ส , ร็อค ,บลูส์ และแนวอื่นๆ ที่ทำให้เขา มีความเป็นสากลอย่างแท้จริง
              ในปี 1982  Mick Jagger และ Keith Richard ได้พบกับ STEVIE RAY VAUGHAN และ วง Double Trouble ของเขาใน Dallas Club ซึ่งทำการแสดงครั้งแรกในเทศการ “ Montreux Jazz Festival “ โดยปราศจ่กการเซ็นสัญญาบันทึกแผ่นเสียงต่อมาหลังจากเทศการนั้นแล้ว VAUGHAN ก็ได้ปรากฏตัวในการแสดงระดับชาติใน Davis Bowie’s Dance ในปี 1983 และต่อมาได้ทำสัญญาบันทึกแผ่นเสียงให้กับ Epic Records โดยบุคคลมากประสบการอย่าง John Hammond ซึ่งเขามีบทบาทในการทำงานที่เป็นตำนานของดนตรีอเมริกันหลายคนด้วยกัน เช่น Caunt Basie, Charlie Christian, Bob Dylan, Aretha Franklin และ Bruce Springteen
               Double Trouble ได้เปิดตัวอัลบั้มแรกชื่อว่า “ Taxas Food “ ในปี 1983 และมีการเดินสายตลอด 18 เดือน และในปี 1984  Double Trouble ได้ออกอัลบั้ม “ Couldn’t Stand Weather “ ออกสู่ตลาดและเขาก็ได้กลายเป็นซุปเปอร์สตาร์ในแนวบลูส์อีกด้วย
               VAUGHAN ได้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ทางเฮลิคอปเตอร์ ในวันที่ 27 สิงหาคม 1990

อุปกรณ์ที่ใช้ : Fender Stratocaster with a ’59 body and a ’61 neck ; Fender Vibroverb and 150-  watt Dumbles ; Tube Screamer
เพลงที่สร้างชื่อ : “ Pride and Joy “ ของ STEVIE RAY VAUGHAN และ วง Double Trouble ในอัลบั้ม “ Taxas Food “ ( Epic ในปี 1983 )
อัลบั้มที่ได้รับการยอมรับสูงสุด : STEVIE RAY VAUGHAN และ วง Double Trouble ในอัลบั้ม In Step


          ฤดูร้อนปี 1977 เรย์ วอห์น ก็ออกจากเดอะครอบบราส์ และเข้าไปร่วม
งานกับวง Triple Threat Revue ซึ่งประกอบไปด้วย ไมค์ เคนดริกค์  เล่นเพียโน ดับบลิว ซี คลาร์ก ร้องและเล่นเบส เฟรดดี้ ฟาโรส์ และ ลูแอน บาร์ตัน ร้อง  การทำงานของ ทริพเพิล ทรีท  เป็นไปอย่างราบรื่น ปราศจาก อัตตาส่วนตัวของทุกคน เพราะต่างก็ยอมรับในฝีมือของกันและกัน  ไมเคิล พอยท์ ผู้เชี่ยวชาญเพลงบลูส์แห่งออสติน กล่าวถึงวงนี้อย่างชื่นชมว่า ความจริงแล้วลูแอน เป็นนักกีตาร์ที่มีฝีมือมากคนหนึ่ง เธอเคยผ่านงานกับศิลปินระดับคลาสสิคมาแล้ว เช่น Jenis Joplin  ส่วนสตีวีเองนั้น ก้เพียงพอใจกับการเป็นนักร้องแบ็คอัพให้เธอเท่านั้น ไม่มีคำว่า สตาร์”  และเมื่ออยู่บนเวที วงนี้คือวงที่เหลือเชื่อ
                       
ต่อมาสตีวี่ฟอร์มวงใหม่ชื่อ Double Trouble (มาจากชื่อเพลงของ Otis Rush) โดยมีลูแอน ร่วมอยู่ด้วย ในปี 1978  พวกเขาเดินทางไปนิวยอร์ค คลิฟ แฮทเทอร์เลย์ หนึ่งในสมาชิกได้เขียนในบันทึกของเขาว่าชีวิตในแมนฮัตตันช่างแสนเข็ญนัก เราจากออสตินมาด้วยเงินพียง 100 เหรียญ  เพื่อหวังความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ แต่เราก็มีปัญหาจากพวกเรากันเอง เพราะขณะนั้น ลูแอน เธอไม่สามารถประคับประคองจิตใจของเธอได้เลย เธอดื่มและสูบกัญชาอย่างหนัก ในช่วงที่พวกเรารองานกัน สตีวี่เองก็ทำอะไรไม่ถูก ทางออกที่ดีที่สุดคือยุบวงและแยกย้ายกันไป
               
ปี 1981  สตีวี่ลดจำนวนสมาชิกของวงให้เหลือแค่สามคน คือทอมมี่ ชานอนเพื่อนเก่ามาเล่นเบส และได้คริส เลย์ตันมาเล่นกลอง และช่วงนี้เองที่สตีวี่เริ่มเรียกตัวเองว่า  “สตีวี่ เรย์”  และฉายแววความเก่งกาจในเชิงกีตาร์เพิ่มมากขึ้น และช่วงนี้นี่เองที่หลายคนเริ่มจับตา และเปรียบเทียบภาพจำลองของอัลเบิร์ท คิง และจิมมี่ เฮนดริกซ์ยังไงยังงั้น  ในส่วนที่เหมือนอัลเบิร์ท คิงคือสไตล์การเล่น ส่วนที่คล้ายคลึงเฮนดริกซ์คือ วิถีทาง”  ในการใช้ชีวิต มาถึงช่วงนี้ ทุกคลับ ทุกบาร์ ต่างอ้าแขนรับและต้องการโชว์ของสตีวี่ทุกค่ำคืน การกลับมาบ้านเก่าออสติน ทำให้สตีวี่มีโอกาสได้รู้จักกับมือปืนประจำสตูดิโอ Eric  Johnson  หนุ่มน้อยนัยน์ตาใสซื่อ แต่ชั้นเชิงกีตาร์แน่นปึ๊ก  ทั้งคู่ได้รับการขนานนามว่าเทพเจ้ากีตาร์คู่แห่งออสติน”  ชื่อเสียงของสตีวี่กระฉ่อนออกไปไกลแค่ไหนไม่มีใครค้นหาคำตอบ แต่มันต้องดังไปไกลถึงริมรูหูของ เจอร์รี่ เว็กเลอร์ โพรดิวเซอร์แนวริธึ่มแอนด์บลูส์ผู้ยิ่งใหญ่ เว็กเลอร์ต้องถ่อสังขารมาที่ออสติน เพื่อมาดูให้เห็นกับตาว่า ไอ้หมอนี่ ทำไมคนมันพูดถึงกันนักหนา เขาไม่ผิดหวัง วงดับเบิ้ล ทรอบเบิ้ล เข้าร่วมงานเทศกาลยิ่งใหญ่ประจำปีของสวิตเซอร์แลนด์  Montreux Jazz Festival แม้จะเป็นการไปเล่นไกลถึงต่างแดนต่อหน้าผู้ชมต่างวัฒนธรรม แต่ด้วยควาเป็นหนึ่งในเชิงกีตาร์ สตีวี่สามารถสยบสายตาชาวยุโรปลงได้ด้วยมนต์เสน่ห์อันเข้มข้นของบลูส์ 
             
หนึ่งในผู้ชมของงานนั้น เป็นศิลปินระดับบิ๊กเนม  “เดวิด โบวี่ จอมดัดจริต”  เขาทึ่งในลีลาการเดินทางของนิ้วบนเส้นลวดของสตีวี่เป็นอย่างยิ่ง หลังการแสดงจบลง เดวิด โบวี่ ตรงรี่เข้ามาหาสตีวี่ พร้อมเอื้อนเอ่ยวจีมธุรสแสนหวานให้สตีวี มาร่วมงานในอัลบั้มชุดใหม่ของเขา (สตีวี่บอกว่าไป๊ ไป๊ ไอ้กระเทยตุ๊ด แกเป็นอะไรกันแน่วะ เกย์  ตุ๊ด กระเทย  ฮ่า ฮ่า ฮ่า)    สตีวี่ตอบตกลง เพราะนี่คือโอกาสที่หาไม่ได้ง่ายนัก
             
สตีวี่ มาสำแดงพลังกีตาร์ในอัลบั้มชุด Let’s  Dance ของเดวิด โบวี่  และมันกลายเป็นอัลบั้มที่กลับมาแจ้งเกิดอีกครั้งของเดวิด โบวี่  สตีวี่ไม่เพียงแต่สำแดงพลังกีตาร์ใสตูดิโอเท่านั้น แต่เขายังออกตระเวนทัวร์ทั่วโลกกับเดวิด โบวี่ ซึ่งเป๋นประสบการณ์การออกทัวร์ที่เขาได้มีโอกาสสัมผัส ไนล์ ร็อดเจอร์ โพรดิวเซอร์ผิวหมึกค่อนข้างพอใจกับฝีไม้ลายมือของสตีวี่ ที่เล่นกีตาร์มีสไตล์ของฟังกี้ แม้เขาจะติดอยู่หน่อยตรงที่ว่า มันเหมือนอัลบเบิร์ท คิง มากไปหน่อย การออกทัวร์ครั้งนั้น สตีวี่ ยังรับหน้าที่เป็นวงเปิดให้ด้วย  แต่ก็มีข่าวไม่ค่อยจะดีเล็ดลอดออกมาอยู่บ่อยๆว่า ความสัมพันธ์ระหว่างเขาโบวี่ ไม่ค่อยราบรื่นนัก เพราะปัญหาเรื่องเงินค่าตัวในทำนองว่า เดวิด โบวี่ เบี้ยวค่าตัวเขา และข่าวนี้ก็เป็นความจริง เมื่อสตีวี่ขอถอนตัวจากการทัวร์ และกลับไปยังออสติน เพื่อเล่นดนตรีกับดับเบิ้ล ทรอบเบิ้ล ต่อไป
             “
คนเท็กซัสน่ะ เป็นคนจริงโดยสันดานน่ะครับไมเคิล พอยท์  แห่งหนังสือออสติน อเมริกัน สเตรทเมนท์ กล่าว   “ผมได้ยินสตีวี่สบถว่า แม่ง....ไอ้โบวี่ เดี๋ยวกูจะยิงแม่งเลย....คือผมเข้าใจความรู้สึกของสตีวี่ เขาเติบโตขึ้นมาในเท็กซัส และภูมิใจกับดนตรีที่เขาเล่น และไม่มีทางหรอกที่เขาจะไปเล่นสนุบสนุนร็อคสตาร์จากอังกฤษ
           
ในเทศกาลดนตรีแจ๊ซซ์เมื่อปี 1982 ยังมีบุคคลหนึ่งที่ชื่นชมความห้าวหาญของสตีวี่ เขาคือศิลปินตำนานศักดิ์สิทธิ์ย่านเวสท์ โคสท์ ผู้ยิ่งยง แจ๊คสัน บราวน์ บราวน์เชื้อเชิญสตีวี่และวงของเขา มาอัดเดโมเทปที่สตูดิโอใหม่ของเขาย่านดาวน์ทาวน์ และมีหรือที่สตีวี่จะปฏิเสธคำเชื้อเชิญที่เต็มไปด้วยความเอื้ออาทร  มันเหมือนกับว่า บรานว์คือแรวหนุนส่งเขาอีกทอดหนึ่ง จนในที่สุดเขานำเดโมเทปไปให้จอห์น แฮมม่อนด์ ซีเนียร์ ฟัง หมอนี่ไม่ธรรมดา เพราะเขาคือโพรดิวเซอร์ผู้ยิ่งใหญ่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ ชาร์ลี คริสเตียน,บ๊อบ ดิแล่น,อเรธา แฟรงคลินและบรู๊ซ สปริงส์ทีน แฮมม่อนด์พอใจงานของดับเบิ้ล ทรอบเบิ้ลมาก และใช้ความเก๋าที่มีอยู่ในวงการ ผลักดันงานให้เขาได้เซ็นสัญญากับอีพิค เร็คคอร์ด แฮมม่อนด์กล่าวถึงสตีวี่ว่านับจากยุคของที-โบน วอล์คเกอร์ ในปี 1936 แล้ว ผมก็เห็นจะมีแต่สตีวี่นี่แหละที่มีความสามารถระดับนั้น เป็นแบบฉบับที่ดีของชาวเท็กซัสรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพ เขาเหมือนกับที-โบน ทุกกระเบียด ไม่ว่าจะเป็นฝีมือและเมื่ออยู่บนเวที
       
ปี 1983  ความฝันของสตีวี่เป็นจริง เมื่ออัลบั้มชุดแรกออกวางจำหน่าย ในสังกัดอีพิค เร็คคอร์ด โดยความช่วยเหลือของแฮมม่อนด์ ชื่ออัลบั้ม Texzas Flood แต่กว่าจะคลอดออกมาได้ มีเรื่องราวชวนปวดเศียรเวียนเฮดกันขนานหนัก เพราะเพลงในแบบของเขาต้องผ่านการกลั่นกรองอย่างหนักจากผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับสตีวีเองก็ยังไม่มีประสบการณ์ที่เจนจัดด้านสตูดิโอ ถึงกระนั้นก็ตาม ดนตรีที่พวยพุ่งออกมาก็ทรงพลังพอที่จะทำให้ทึกคนยิ้มได้ เป็นพลังบลูส์ที่เปรียบประดุจจุดระเบิดที่รอวันจุดชนวน ฝีมือกีตาร์อันเยี่ยมยอดจากเพลง Pride And Joy และ Crying บางบอกถึงความเป็นสไตบ์เท็กซัส บลูส์อย่างแท้จริง และตอนหลังอัลบั้มชุดนี้ กลายเป็นสัญลักษณ์ของเท็กซัสบลูส์ไปอย่างแท้จริง ลูกโซโลทุกเม็ด มีสำเนียงและน้ำหนักชัดเจน  ดุดัน กระชากใจ เมื่อใดก็ตามที่มันกระทบโสตประสาทผู้ฟัง ต้องเกิดอารมณ์คล้อยตามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
           
ในส่วนของภาพพจน์ สตีวี่เองก็ค้นหาจนพบ เขาชอบสวมหมวกปีกกว้าง มีขนนกของอินเดียนแดงเสียบอยู่บนเสื้อโค้ทหนาเตอะ รองเท้าบู๊ท สลักลวดลายนกอินทรี บวกเข้ากับฝีมือที่เอกอุ เท่านี้ก็เพียงพอแล้วสำหรับสตีวี่
             
อัลบั้มชุดนี้บรรจุเพลงเด็ดๆไว้เพียบ เช่นเพลง Come One ที่ว่ากันว่า สำเนียงกีตาร์เฉียดฉิวจิมมี่ เฮนดริกซ์ไปเพียงเส้นยาแดงผ่าแฝด  ถ้าเอาอัลบั้มของจิมมี่ชุด Electric Ladyland มาฟังเปรีบยเทียบจะเห็นชัดเจน เทคนิค ลูกเล่น แพรวพราว เพลง Lookin Out The Window และ Look At Little Sister และเพลง Ain’t Gone n Give Up On Love อุทิศแด่อัลเบิร์ท คิง ในลีลาบลูส์ที่โหยเศร้า เพลง Life Without You เป็นแนวกอสเพลแท้ๆ บ่งบอกความเป็นชาวชนบทที่อยู่กับสาปดินกลิ่นหญ้า ม้า วัว ควาย
     
อัลบั้มชุดนี้ประสพความสำเร็จงดงามเหลือเชื่อ เพราะไม่มีใครคาดคิดมาก่อนว่า ดนตรีบลูส์ที่แผ่วโผยลงไปทุกวัจะกลับฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้ง ด้วยศักดิ์ศรีของสตีวี่เป็นผู้นำพา  ถึงตอนนี้เริ่มมีคนพูดถึงเขาในแง่ที่ว่า นี่คือภาคใหม่ของจิมมี่ เฮนดริกซ์  และนับตั้งแต่การจากไปของจิมมี่ เห็นจะมีแต่สตีวี่นี่แหละที่เข้าถึงเพลงบลูส์ได้อย่างถึงแก่นแท้ และเต็มไปด้วยจิตวิญญาณ  พลัง และการชักชวนให้หวนรำลึกถึงรากเหง้าความรุ่งเรืองแห่งบลูส์ในอดีต
       
แวน วิลสัน มือกีตาร์ในเมืองออสตินกล่าวถึงเพื่อนเก่าของเขาว่า  “มีบางสิ่งบางอย่างที่สตีวี่มีส่วนคล้ายคลึงจิมมี่  เมื่อเวลาที่ทั้งสองคนเล่นดนตรี  มันเหมือนกับว่า เขาจะมไสนใจสิ่งใดๆเลย สมาธิจะอยู่บนเฟรทกีตาร์ แล้วถ่ายทอดอารมณ์ลงบนปลายนิ้วอย่างต่อเนื่อง เมื่อพรรคพวกในกลุ่มเรามีโอกาสสนทนากัน เมื่อใดก็ตามที่เราพูดถึงเฮนดริกซ์ ก็ไม่พ้นที่จะพูดถึงสตีวี่ เรามีรูปของเฮนดริกซ์ และจ้องมองรูปนั้นอย่างพิจารณา เรามีความเห็นพ้องต้องกันว่า แววตาของเฮนดริกซ์ มันคล้ายแววตาของสตีวี่มากจริงๆ มันส่อความเด็ดขาด แต่ไม่ได้ส่อว่าจะโหดเหี้ยมหรอกนะ
         
แม้ว่าภาพเปลือกนอกของสตีวี่ จะดูเหมือนว่าเขามีความสุขกับความสำเร็จของผลงาน แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เขายังหวั่นวิตกถึงเสียงที่เล่นออกมา เขากลัวว่า งานชุดใหม่จะออกมาไม่ได้มาตรฐานเหมือนชุดแรก เขาบอกว่า
         “
เมื่อผมฟังงานของตัวเอง เสียงที่ออกมามันดีเยี่ยม โน้ตที่เล่นออกมามันยิ่งใหญ่ แต่ก็หาใช่ตัวตนที่แท้จริงของผม มันเหมือนผมถูกจำกัดให้เล่นอยู่ในวงที่ขีดเอาไว้ ผมคิดว่า ผมตัดสินใจถูกต้องแล้วที่เลือกอาชีพนี้  แต่ก็ยังมีบางสิ่งบางอย่างที่ผมไม่สามารถควบคุมมันได้ บางอย่างผมยังค้นหาไม่เจอ เวลาผมอยู่คนเดียวเงียบๆคือเวลาที่ผมสบายใจที่สุด  ผมสามารถมีอัตตาส่วนตัวได้ โดยไม่ต้องไปวิตกว่า ใครจะเห็นด้วยหรือไม่ และบางสิ่งบางอย่างจะไม่มีอยู่ในหัวสมองของผม มีปัญหามากมายที่คนเรายังไม่สามารถค้นหาคำตอบให้ได้อย่างถ่องแท้ ผมก็แค่ชายวัย 33 และมีลูกชายวัย 6 ขวบอยอยู่เคียงข้างเท่านี้ผมก็คิดว่า มีความสุขมากแล้ว
         
การได้ทำอัลบั้มการแสดงสด Live Alive นั้น ทำให้สตีวี่ ค้นหาตัวเองได้มากขึ้น เขาไม่จำเป็นต้องขลุกอยู่กับตัวเองวันแล้ว วันเล่า และเสพโคเคนเป็นว่าเล่นทั้งวัน เขาหยุดทุกอย่างด้วยมือของเขาเอง
         
เดือนตุลาคม ปี 1986 สตีวี่ขึ้นเวทีคอนเสิร์ตที่ลอนดอน เขาคร่ำครวญถึงแม่ของเขา ที่อยู่ในดัลลัส  “ช่วยผมด้วย ตอนนี้ผมอยู่ในยุโรป ผมกำลังแย่ครับแม่
       
สตีวี่ รีบกลับอเมริกาด้วยความคิดถึงแม่ และมุ่งหน้าไปที่มาร์เร็ทต้า จอร์เจีย หลังจากอัลบั้มแสดงสดออกวางจำหน่ายไปเพียงเล็กน้อย สตีวี่กลับบ้านที่ดัลลัส  เพื่อรักษาโรคแอลกฮอลิซึ่มและย้ายเข้าไปในสถานบำบัดยาเสพติดที่ออสติน
           
ที่นี่ เขาต้องเข้ารับการบำบัดถึง 12 โปรแกรม ต้องรักษาตารางการดื่มอย่างเคร่งครัด แต่ก็ได้ผลเป็นที่น่ายินดี
       
ปี 1988  เขากลับคืนสู่ดนตรีอีกครั้ง คราวงนี้ร่างกายเขาสดชื่นและฟอร์มสดกลับมาอีกครั้ง อัลบั้มชุ In Step สามารถคว้าแผ่นทองคำขาวมาครอง และได้รางวัลแกรมมี่สาขาเพลงบลูส์
       
ก่อนหน้าที่จะทำอัลบั้ม Family Style เขาคว้ารางวัล Austin Music Awards ใครๆต่างก็ชื่นชมรางวัลนี้ว่า เป็นการตอบแทนคุณค่าคุณงามความดีในฐานะนักกีตาร์ที่อุทิศให้กับดนตรีบลูส์ และรางวัลนี้ก็ไม่ใช่รางวัลโหลๆ เหมือนเมฆขลา เพราะคนที่จะได้รางวัลนี้ต้องมีคุณสมบัติที่พิเศษสุดเหนือคนอื่นๆ
   
ผลงานของสตีวี่คืออัลบั้ม Texas Flood และ In Step รวมทั้งซิงเกิ้ลยอดเยี่ยม Crossfire “ผมขอขอบคุรพระเจ้าที่ประทานพรแก่ผม และผมขอขอบคุณประชาชนทุกคนที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ ชีวิตผมอยู่ได้ทุกวันนี้ เพราะความกรุณาของทุกๆคน” (เหมือนเว็บบ์ไซด์ร็อคเกอร์ กูรู จะอยู่ได้ด้วยคนอ่าน อิ อิ) 
       
นั่นคือประโยคแห่งความกตัญญูของสตีวี่ ที่มีต่อผู้คนและผืนแผ่นดินที่ให้กำเนิดเขามา และมีศิลปินไม่กี่คนที่จะนึกถึงกำพืดของตัวเอง เมื่อไปสู่จุดสูงสุด แต่ที่สุดก็ร่วงผล็อย!!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม

รายการบล็อกของฉัน