วันอังคาร, ตุลาคม 05, 2553

ดนตรีสกา เรกเก้

    
  รสนิยมการฟังเพลงของชาวจามไมกันนั้น  ได้รับอิทธิพลจากสถานีวิทยุอเมริกันที่ลอยข้ามทะเลมา
ไม่ว่าจะเป็นคลื่นความถี่จากสถานีวิทยุฟลอริดา  หรือหลุยส์เซียนา หรือสถานีนิวออร์ลีนส์
และสำหรับชาวจาไมกันนั้น ขอเพียงแค่เป็นเพลงร็อคแอนโรล์ที่มีกลิ่นอายของริธึมแอนบลูส์ฺก็เป็นอันใช้ได้
       เพลงประเถทนี้ภายหลังเรียกว่าจังหวะโซล  ซึ่งมีรากฐานมาจากดนตรีของชาวอัฟริกันผิวดำในอเมริกา  ต่อมาไม่นาน ดนตรีของชาวจาไมกันก็คลี่คลายออกไป  พวกเขาแต่งเพลงโดยการผสมผสานแนวเพลง ร็อคแอนโรล์ เข้ากับเพลงพื้นเมืองที่เรียกว่า "Mento" (เมนโต) ของอัฟริกันจาไมกัน  หรืออาจผสมคาลิบโซที่นิยมกันในอเมริกาใต้  ผลของการผสมผสานเช่นนี้ชาวจากไมกันเรียกว่า  "สกา"  แต่จังหวะค่อนข้างเร็ว  สกาจึงเหมาะเป็นเพลงเต้นรำของคนผิวดำ  
     ช่วงปลายทศวรรษ 1960  จังหวะของเพลงสกาเริ่มมีการประยุกต์เล่นให้ช้าลงกว่าเดิม และได้เปลี่ยนชื่อเรียกเป็น "Rocksteady" (ร็อคสเตดี้) และหลังการมาถึงของร็อคสเตดี้  ก็คือการกำเนิดขึ้นของ "Reggae" (เรกเก้) เพลงร็อคในสไตล์จาไมกัน  ที่หลายคนมองว่าเป็นการนำร็อคแอนโรลด์มาปรับให้มีลูกเล่นและเอกลักษณ์เฉพาะตัว  ด้วยการผสมผสานเข้ากับทำนองของท้องถิ่นจาไมกัน  คล้าย ๆ สกา และร็อคสเตดี้  แต่ เรกเก้  มีจังหวะในการเล่นที่เนิบช้ากว่า
      บทเพลงเรกเก้ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วในสถานเต้นรำ กระทั่งปี ค.ศ. 1968 บทเพลง Do The Reggae บทเพลงเรกเก้เพลงเเรก  ก็ถือกำเนิดขึ้นในท้องตลาด  เป็นผลงานของ Toots Hibbert แห่งวง The Maytals  
      กีตาร์ เบส กลอง  คือเครื่องดนตรีที่ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของดนตรีเรกเก้  โดยเฉพาะกลองสไตล์อัฟริกันอันเป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองของจาไมกา
      ความพิเศษอย่างหนึ่งของเรกเก้คือ  "จังหวะเคาะ"  ที่ชวนให้รู้สึกราวกับต้องมนต์  นั่นคือจังหวะ 1 และ 3 ซึ่งเรียกกันว่า  จังหวะสะกิตจิต ต่างกับร็อคที่เคาะจังหวะ 2 และ  4 แต่การเคาะที่ 1 และ 3 ไม่ใช่ของใหม่ เพราะมาจากาการตีกลองแบบอัฟริกัน  ซึ่งในจาไมการเรียกดนตรีที่เลียนเเบบสไตล์พืนเมืองว่า  Root Music  
       ดนตรีเรกเก้พัฒนามาอย่างไม่หยุดยั้งตามรสนิยมของนักเต้นรำ  ความพึงพอใจในเสียงเบสและลีลาของ เรกเก้ ส่งผลให้เพลง เรกเก้ ต่างจากเพลงสไตล์อื่น ๆ  การมิกซ์เสียงเบสใส่ลงในร่องเสียง  กลายเป็นที่มาของการผลิดแผ่น ซิงเกิ้ล  ที่เรียกว่า Dub Side  หรือดนตรี Dub อันเกิดจากดนตรี Rocksteady และ Reggae เพราะมีการคิดค้น การซ้อนเสียงเบสเข้าไปสองครั้ง (Double)  ทำให้เ้กิดเสียงที่แน่นขึ้น  แล้วจากนั้นก็ลองซ้อนแบบเหลื่อม ๆ ทำให้เกิดเสียง Delay จนวันที่เทคโนโลยีก้าวหน้ากก็เกิดอุปกรณ์แปลงเสียง (Effect) เพื่อให้เกิดเสียง Delay และ Space Echo ซึ่งเป็นที่มาของดนรี Dub ที่นิยมใช้ Delay และ Echo มาก ๆ  พร้อมกับใส่เนื้อเพลงพูด ที่ด้นสด หรือ Improvise 
      ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือสเน่ห์ที่ไม่เคยเสื่อมความนิยมไปจากประชาชนชาวโลกของดนตรีแนวนี้  ส่วนการด้นสดกับ Dub Side นั้นจริง ๆ แล้วคือการเเร๊พนั่นเอง  แต่เป็นการแร๊พในแนวทางของชาวจาไมกัน ที่เรียกกันว่า "Raggamuffin" (เรกก้ามัฟฟิน)  และเป็นที่มาของดนตรี "Dance Hall " ในช่วงปี ค.ศ. 1970 พร้อม ๆ กับกำเนิดการ Rap ในดนตรีฮิพฮอพแถบ Bronx ใน New York
       สำหรับเรา คิดว่า เพลง สกา ในจาไมกายุคแรก ๆ น่าฟังที่สุด  เพราะยังไม่มีเรื่องของอิเล็กทรอนิกส์ของกีตาร์หรือออร์แกนเข้ามา  มีแค่ กลอง Double Bass เครื่องเป่า และกีตาร์โปร่ง  แถมเมโลดี้ที่อิงไปทางของ Jazz ด้วย  ถ้าอยากรู้ว่าเป็นอย่างไร  ลองฟังเพลงของ Skataletes ดูคับ  ในความคิดของเรา The Skatalites เป็นวงสกาที่สมบูรณ์แบบที่สุด เพราะทุกคนทุกตำแหน่งมีแนวทางที่โดดเด่นไม่แ้พ้กัน The Skatalites  นับเป็นวง Ska ต้นแบบของ Ska ทั่วโลก


      น้ากอล์ฟ T-Bone เคยเล่าให้ฟังว่า เคยมีโอกาสดู The Skatalites เล่นสด ๆ สมัยเรียนอยู่อเมริกา  และวงนี้คือวง Ska ที่ น้ากอล์ฟ แกอยากแจมด้วยมากที่สุด 
      เนื้อหาเพลง Ska ในยุคแรก ๆ  ยังไม่ค่อยพูดถึงลัทธิ Rastafarian มากนัก  แต่ก็มีเรื่องการเมือง,สิทธิมนุษย์ชน  , ธรรมชาติ , ความรัก เป็นเนื้อหาหลัก  แต่หลังจากลัทธิ Rastafarian เริ่มเฟื่องฟู กลุ่มคนดำในสลัม จาไมกา  เริ่มปวารณาตัวเข้านับถือ ลัทธินี้มากขึ้น Ska จึงเริ่มพัฒนาเนื้อหาและแนวดนตรีมาเป็น Rocksteady 
    จริงอยู่ที่ดนตรีของ Ska ลดความกระแทกกระทั้นลงกลายเป็น Rocksteady ทว่าเนื้อหาของเพลงกลับร้อนแรงขึ้นตามอุณหภูมิของการเมือง  ซึ่งก็มีผลจากเหตุการณ์การใช้กำลังปราบปรามจลาจลระหว่างผิวในปี ค.ศ. 1965 โดยเหตุผลครั้งนั้นได้ปลุกจิตสำนึกของคนดำรุ่นใหม่ ให้ตื่นขึ้นจากความฝันแห่งโลกยุคเก่า  ด้วยเหตุนี้ Rocksteady จึงถือกำเนิดขึ้น  มีบทเพลงใหม่ ๆ ทยอยออกมาเร้าคนหนุ่มสาว ให้กล้าแสดงความรู้สึกต่อต้านสังคมอย่างไม่ขาดสาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม

รายการบล็อกของฉัน